วัดคงโงอิน

วัดโมมิจิแห่งทัมบะกับความงดงามของทัศนียภาพที่ไม่เสื่อมคลาย

กล่าวกันว่า วัดคงโงอินแห่งคาวาราซังจิอนจิ สร้างโดยเจ้าชายชินเนียว เมื่อ พ.ศ. 1372

ต่อมา วัดตกอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม แต่ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์โดยสมเด็จพระจักรพรรดิชิรากาวะ พระองค์ยังทรงสร้างเจดีย์สามชั้นด้วย

วัดนี้รู้จักกันในชื่อ "วัดโมมิจิแห่งทัมบะ" เนื่องจากสีสันที่งดงามของใบไม้เปลี่ยนสีในฤดูใบไม้ร่วง

สึรูกาเมโนะ นิวะ (สวนกระเรียนกับเต่า) ที่สร้างขึ้นช่วง พ.ศ. 2243 และวิหารหลักกลมกลืนเข้ากับทัศนียภาพที่คงรักษาสภาพแวดล้อมทางประวัติศาสตร์ของวัดนี้

วัดคงโงอิน รูปถ่าย1
สมบัติทางวัฒนธรรมที่สำคัญ เจดีย์ (สามชั้น) แห่งวัดคงโงอิน
เจดีย์ (สามชั้น) แห่งวัดคงโงอิน รูปถ่าย


กล่าวกันว่า เจดีย์สามชั้นนี้สร้างขึ้นสำหรับพิธีรำลึกเจ้าชายชินเนียว เมื่อ พ.ศ. 1626

เจดีย์ที่เห็นในปัจจุบันสร้างขึ้นใหม่ช่วง พ.ศ. 1943 สังเกตได้จากการประดับตกแต่งที่เป็นเอกลักษณ์ในช่วงเวลานั้น

ภายในเจดีย์ พบรูปสลักของเจ้าชายชินเนียว ผู้ก่อตั้งวัดนี้ ในพระอิริยาบทประทับนั่ง

เจดีย์นี้ผสานกลมกลืนเข้ากับทัศนียภาพโดยรอบตลอดสี่ฤดูกาล กระทั่งได้รับการเอ่ยถึงในวรรณกรรม "คิงกากูจิ" ของยูกิโอะ มิชิมะ และได้รับการยกย่องอย่างมากว่าเป็นเจดีย์สามชั้นที่สง่างาม

ได้รับการกำหนดให้เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมที่สำคัญเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2460

สมบัติทางวัฒนธรรมที่สำคัญ รูปสลักไม้ในอิริยาบทประทับยืนของจินจะ ไทโช
รูปสลักไม้ในอิริยาบทประทับยืนของจินจะ ไทโช รูปถ่าย


จินจะ ไทโช คือเทพผู้พิทักษ์พุทธศาสนา ล่ำลือกันว่าเป็นต้นแบบของซาโงโจหรือซัวเจ๋งในไซอิ๋ว

มีรอยจารึกด้วยหมึกบริเวณเท้าด้านในข้างซ้าย ทำให้ทราบว่าเป็นผลงานในช่วงแรก ๆ ของไคเค ช่างแกะสลักพระพุทธรูปช่วง พ.ศ. 1743

มีพระพุทธรูปประมาณ 20 องค์ทั่วญี่ปุ่นที่ไคเคได้ใช้หมึกจารึกด้วยตัวเอง ในจำนวนนี้ 3 องค์อยู่ในเมืองไมซูรุ โดย 2 องค์ประดิษฐานที่วัดคงโงอิน อีก 1 องค์ประดิษฐานที่วัดมัตสึโนโอเดระ

ได้รับการกำหนดให้เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมที่สำคัญเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2453

สมบัติทางวัฒนธรรมที่สำคัญ รูปสลักไม้ในอิริยาบทประทับยืนของชิตสึกงโงชิตสึ
รูปสลักไม้ในอิริยาบทประทับยืนของชิตสึกงโงชิตสึ รูปถ่าย


ชิตสึกงโงชิน คือเทพผู้พิทักษ์พุทธศาสนา ถืออาวุธและปกปักรักษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า

เช่นเดียวกับรูปสลักไม้ในอิริยาบทประทับยืนของจินจะ ไทโช กล่าวกันว่ารูปสลักไม้นี้ก็เป็นผลงานของไคเค ช่างแกะสลักพระพุทธรูปช่วง พ.ศ. 1743 โดยเชื่อกันว่าเป็นรูปสลักคู่กันกับรูปสลักจินจะ ไทโช

รูปสลักนี้มีหลายจุดคล้ายกับชิตสึกงโงชินที่วัดโทไดจิในเมืองนารา ทำให้เชื่อกันว่าไคเคอาจจะเลียนแบบมา

ได้รับการกำหนดให้เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมที่สำคัญเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2453


การเดินทาง

สามารถเที่ยวชมวัดป่าและเพลิดเพลินกับคอมพิวเตอร์กราฟฟิกที่มีความคมชัดสูง

วัดป่า